เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[1483] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุ
นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุ
และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้น
นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิต อันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
คันธายตนะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1484] 2. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะย่อม
เกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น.